JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
เมนู หน้าแรก สินค้า ถังดับเพลิงและอุปกรณ์ อุปกรณ์จราจร อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ประสิทธิภาพ ความรู้ทั่วไป ติดต่อเรา
ความรู้ทั่วไป
ประสิทธิภาพ
hotline
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2012-03-02
จำนวนสมาชิก : 6 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-02-01
จำนวนครั้งที่ชม : 1,220,071 ครั้ง
Online : 3 คน
จำนวนสินค้า : 68 รายการ

เมนสวิตช์

2012-03-09 13:55:46 ใน ความรู้ทั่วไป » 0 27925
เมนสวิตซ์ ในที่นี้จะหมายถึง อุปกรณ์บนแผงวงจรควบคุมการจ่ายไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ไฟฟ้าให้เกิด ความปลอดภัย สามารถสับหรือปลดออกได้ทันที เมนสวิตซ์มักจะหมายถึง อุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการไฟฟ้านครหลวงเข้ามาในบ้าน ซึ่งจะรวมถึงอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินและลัดวงจรด้วย
1.ขนาด ปรับตั้งของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินหรือลัดวงจร เช่น ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องเลือกขนาดให้สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในขณะที่เกิดลัดวงจร หรือมีกระแสไฟฟ้าเกินก่อนที่สายไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ จะเสียหาย
 
2.ความ สามารถหรือพิกัดในการตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (IC หรือ Interrupting Capacity หรือ Interrupting Rating) ของฟิวส์หรือเบรกเกอร์ต้องสูงกว่าค่ากระแสลัดวงจรของระบบไฟฟ้าที่ตำแหน่งติด ตั้ง ปกติจะมีหน่วยเป็น kA หรือกิโลแอมแปร์ ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (IC) นี้จะต้องสอดคล้องกับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งานด้วย เช่น พิกัด IC = 10 kA สำหรับแรงดัน 120 V เมื่อนำไปใช้กับแรงดัน 240 V จะมีพิกัด IC ลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง เช่นเหลือ IC = 5kA เป็นต้น
 

หมายเหตุ
1) ค่าพิกัด IC ของอุปกรณ์ตัดไฟสำหรับระบบทั่วไปภายในเขต กฟน. จะต้องไม่น้อยกว่า 10 kA
2) สำหรับในเขตวงจรตาข่าย (เขตวัดเลียบ) ต้องมีพิกัด IC ไม่น้อยกว่า 50 kA
3) ค่าพิกัด IC ของเบรกเกอร์ที่ใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัยทั่วไปนั้นให้อ้างอิงค่าพิกัดที่ทดสอบตามมาตรฐาน IEC 898 หรือ 60898 เท่านั้น

3.ตำแหน่งของเมนสวิตซ์ต้องอยู่ห่างจากวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ผ้า กระดาษ หรือ สารไวไฟ เช่น ทินเนอร์ผสมสี

4.ตู้ เมนสวิตซ์ หากทำด้วยโลหะต้องต่อลงดิน (ดูผังวงจรหน้า 86) หากไม่ใช่โลหะต้องทำด้วยสารที่ไม่ติดไฟได้ง่าย หรือทำด้วยวัสดุที่ไม่ไหม้ลุกลาม (Flame - retarded)
5.ตำแหน่งของเมนสวิตซ์ต้องเข้าถึงได้สะดวก และมีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ
6.ตำแหน่ง ของเมนสวิตซ์ควรอยู่สูงพ้นระดับที่น้ำอาจจะท่วมถึง และไม่อยู่ใกล้กับแนวท่อน้ำหรือท่อระบายน้ำเพื่อป้องกันอันตรายในกรณ์ที่ท่อ น้ำชำรุด
7.ใน กรณีที่เมนสวิตซ์ ประกอบด้วย คัตเอาท์ (สวิตซ์ใบมีด) และคาร์ทริดจ์ฟิวส์ (ฟิวส์กระปุก) ให้ต่อตรงที่ตำแหน่งฟิวส์ภายในคัตเอาท์ด้วยสายทองแดงที่มีขนาดเพียงพอ (ไม่เล็กกว่าขนาดสายเมน) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสะพานไฟสับ-ปลดวงจรอย่างเดียว โดยให้คาร์ทริดจ์ฟิวส์ทำหน้าที่ป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจรแทน
8.ใน ขณะที่ปลดเมนสวิตซ์ เพื่อการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษานั้น ให้เขียนป้ายเตือนไว้ว่า "ห้ามสับไฟ! ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน" แขวนไว้ที่เมนสวิตซ์ทุกครั้ง

9.เครื่องตัดไฟรั่ว ควรมีปุ่มทดสอบการทำงาน และมีการกดปุ่มทดสอบเป็นประจำ
 
       เครื่อง ตัดไฟรั่วชนิดที่ใช้ป้องกันไฟดูด ควรมีความไวสูงโดยต้องมีขนาดกระแสไฟรั่วไม่เกิน 30mA และหากใช้ตัวเดียวป้องกันทั้งบ้านอาจมีปัญหาเครื่องตัดบ่อย จึงควรใช้เฉพาะวงจรย่อยหรือเต้ารับพิเศษหรือให้แยกวงจรที่มีกระแสไฟรั่วโดย ธรรมชาติออก เช่น เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนวงจรที่มีลักษณะเป็นตัวเก็บประจุ หรือเครื่องป้องกันฟ้าผ่าที่มีการต่อลงดิน เป็นต้น
 
      เพื่อ ให้การป้องกันไฟฟ้ารั่วสมบูรณ์ตลอดทุกวงจรควรมีเครื่องตัดไฟรั่วชนิดที่มี ความไว ปานกลาง ขนาดตั้งแต่ 100 mA ขึ้นไปติดตั้งไว้ที่เมนสวิตซ์โดยจะเหมาะสำหรับระบบไฟที่มีสายดินและสามารถ ป้องกันระบบไฟฟ้ารวมมิให้เกิดอัคคีภัย รวมทั้งเสริมการป้องกันมิให้มีไฟดูด เมื่อมีไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้น
10.ขั้ว ต่อสาย การเข้าสาย และจุดสัมผัสต่าง ๆ ต้องหมั่นตรวจสอบขันให้แน่นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อไม่ให้เกิดวามร้อน วิธีตรวจสอบอุณหภูมิของสายอย่างง่าย ๆ อาจะใช้นิ้วสัมผัสฉนวนสายบริเวณใกล้กับจุดต่อต่าง ๆ ก็ได้ (ต้องแน่ใจว่าฉนวนสายนั้นไม่ชำรุด)
11.เมื่อ มีการทำงานของเบรกเกอร์ (สวิตซ์อัตโนมัติ) หรือเครื่องตัดไฟรั่ว จะต้องตรวจสอบหาสาเหตุทุกครั้งว่าเกิดจากอะไร เพื่อทำการแก้ไขก่อนที่จะมีการสับไฟใหม่ สาเหตุที่เป็นไปได้คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด ไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร มีการใช้ไฟเกินกำลังขนาดของสายไฟฟ้าหรือขนาดของเบรกเกอร์ บางครั้งอาจเกิดจากไฟตก (เฉพาะวงจรที่ใช้มอเตอร์ซึ่งกินไฟมาก) หรืออาจจะเกิดจากเบรกเกอร์ชำรุดเอง กรณีของเครื่อตัดไฟรั่วที่มักจะทำงานเมื่อมีฟ้าผ่านั้นเป็นเหตุการณ์ปกติใน กรณีที่มีคลื่นเหนี่ยวนำจากกระแสไฟผ่าเล็ดลอดเข้ามาในบ้านที่มีเครื่องตัดไฟ รั่วที่ไวเกินไปหรือระบบสายไฟที่เก่าเกินไปก็ได้
12.หลัก ดินและตำแหน่งต่อลงดินภายในอาคารหลังเดียวกัน ควรมีอยู่แห่งเดียวคือบริเวณตู้เมนสวิตซ์ทางด้านไฟเข้าเท่านั้น (รายละเอียดให้ดูในหัวข้อเรื่องสายดิน)
13.ควรแยกวงจรสำหรับระบบไฟฟ้าชั้นล่างของอาคารออกต่างหาก และให้สามารถปลดวงจรออกได้โดยสะดวกในกรณีที่มีน้ำท่วมขัง
14.อุปกรณ์ป้องกันประแสเกินและลัดวงจร ที่ทำหน้าที่เป็นเมนสวิตซ์ควรมีจำนวนขั้วดังนี้
         ระบบไฟที่ไม่มีสายดิน เบรกเกอร์ต้องเป็นชนิดที่ตัดพร้อมกันทั้ง 2 ขั้ว หากใช้ฟิวส์อาจใช้ขั้วเดียวได้ แต่ต้องต่ออยู่ในสายเส้นที่มีไฟ และต้องมีสะพานไฟหรือคัตเอาท์ 2 ขั้ว ที่สามารถปลดไฟพร้อมกันทั้ง 2 ขั้ว
          ระบบไฟที่มีสายดิน เบรกเกอร์และฟิวส์สามารถใช้ชนิดที่ตัดขั้วเดียวในสายเส้นที่มีไฟได้ ยกเว้น กรณีห้องชุดของอาคารชุด
กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ