JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
เมนู หน้าแรก สินค้า ถังดับเพลิงและอุปกรณ์ อุปกรณ์จราจร อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ประสิทธิภาพ ความรู้ทั่วไป ติดต่อเรา
ความรู้ทั่วไป
ประสิทธิภาพ
hotline
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2012-03-02
จำนวนสมาชิก : 6 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-02-01
จำนวนครั้งที่ชม : 1,223,523 ครั้ง
Online : 2 คน
จำนวนสินค้า : 68 รายการ

สายไฟฟ้า

2012-03-09 14:16:57 ใน ความรู้ทั่วไป » 1 54684  
ตัวอย่างสายไฟฟ้าแรงต่ำชนิดต่าง ๆ
การเลือกใช้สายไฟฟ้า
 
  1. ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.) เท่านั้น
  2. สาย ไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง
  3. เลือก ใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อน ห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มี การกดทับสาย เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน เช่น สายชนิด NYY พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น
  4. ขนาด ของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้
 
ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์
ขนาดเครื่องวัดฯ
(แอมแปร์)
 
เฟส
 
ขนาดสูงสุดของ
เมนสวิตช์(แอมแปร์)
ขนาดต่ำสุดของสายเมนและ
(สายต่อหลักดิน)** ตร.มม.
 
แรงดันไฟฟ้าของ
สายเมน(โวลต์)
สายเมนในอากาศ
สายเมนในท่อ
5 (15)
1
16
4 (10)
4,10**(10)
300
15 (45)
1
50
10 (10)
16 (10)
300
30 (100)
1
100
25 (10)
50 (16)
300
50 (150)
1
125
35 (10)
70 (25)
300
15 (45)
3
50
10 (10)
16 (10)
750
30 (100)
3
100
25 (10)
50 (16)
750
50 (150)
3
125
35 (10)
70 (25)
750
200
3
250
95 (25)
150 (35)
750
400
3
500
240 (50)
500 (70)
750
 
 
 
 
 
หมายเหตุ
* สายต่อหลักดินขนาด 10 ตร.มม. ให้เดินในท่อ ส่วนสายเมนที่ใหญ่กว่า 500 ตร.มม. ให้ใช้สายต่อหลักดิน ขนาด 95 ตร.มม. เป็นอย่างน้อย
** สายเมนที่ใช้เดินในท่อฝังดินต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม.
 
5.ขนาดต่ำสุดของสายดินที่เดินไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเต้ารับให้มีขนาดเป็นไปตามขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกินตามตารางต่อไปนี้
 
ขนาดต่ำสุดของสายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า
พิกัดหรือขนาดปรับตั้งของ
เครื่องป้องกันกระแสเกิน (แอมแปร์)
ขนาดต่ำสุดของสายดินตัวนำทองแดง
(ตร.มม.)
6 - 16
1.5
20 - 25
4
30 - 63
6
80 - 100
10
125 - 200
16
225 - 400
25
500
35
600 - 800
50
1,000
70
1,200 - 1,250
95
1,600 - 2,000
120
2,500
185
3,000 - 4,000
240
5,000 - 6,000
420
หมายเหตุ เครื่องป้องกันกระแสเกิน อาจจะเป็นฟิวส์หรือเบรกเกอร์ (สวิตช์อัตโนมัติ) ก็ได้
 
ตัวอย่างขนาดสายไฟฟ้าชนิดที่มีสายดินตาม มอก. 11-2531
ขนาดสายไฟพร้อมสายดิน (ตร.มม.)
สายดินใช้สายเดี่ยว (THW) ฉนวนสีเขียว (ตร.มม.)
สายไฟ
สายดิน
ขนาดสายดิน
2.5
1.5
2.5
4.0
2.5
2.5
6.0
4.0
4.0
10.0
4.0
4.0
16.0
6.0
6.0
25.0
6.0
6.0
35.0
10.0
10.0
หมายเหตุ ในกรณีที่สายดินเดินด้วยสายเดี่ยว สำหรับสายเส้นไฟตั้งแต่ขนาด 2.5 ตร.มม.ลงไป
 ขอแนะนำให้ใช้ขนาดสายดินเท่ากับขนาดสายเส้นไฟ เช่น
 
ขนาดสายไฟ (ตร.มม.)
ขนาดสายดิน (ตร.มม.)
2.5
2.5
1.5
1.5
1.0
1.0
 
6.การเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานต่างๆ ให้เป็นไปตามตารางแสดงพิกัดกระแสไฟฟ้าดังนี้
 
ตารางแสดงขนาดกระแสของสายไฟฟ้า
ขนาดสาย
(ตร.มม.)
ขนาดกระแส (แอมแปร์)
วิธีการเดินสาย (ดูหมายเหตุ)
ท่อโลหะ
ท่ออโลหะ
ท่อโลหะ
ท่ออโลหะ
0.5
9
8
8
7
10
9
-
1
14
11
11
10
15
13
21
1.5
17
15
14
13
18
16
26
2.5
23
20
18
17
24
21
34
4
31
27
24
23
32
28
45
6
42
35
31
30
42
36
56
10
60
50
43
42
58
50
75
16
81
66
56
54
77
65
97
25
111
89
77
74
103
87
125
35
137
110
95
91
126
105
150
50
169
-
119
114
156
129
177
70
217
-
148
141
195
160
216
95
271
-
187
180
242
200
259
120
316
-
214
205
279
228
294
150
364
-
251
236
322
259
330
185
424
-
287
269
370
296
372
240
509
-
344
329
440
352
431
300
592
-
400
373
508
400
487
400
696
-
474
416
599
455
552
500
818
-
541
469
684
516
623
 
หมายเหตุ 1. วิธีการเดินสาย
 
แบบ ก หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนเดินในอากาศ   แบบ ข หมายถึง สายแบบหุ้มฉนวนมีเปลือกเดินเกาะผนัง
 
แบบ ค หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) เดินในท่อในอากาศ ในท่อฝัง ในผนังปูนฉาบหรือในท่อในฝ้าเพดาน
 
แบบ ง หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) เดินในท่อฝังดิน
 
แบบ จ หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) ฝังดินโดยตรง
2. วิธีนับจำนวนสายในท่อ (แบบ ค ถึงแบบ จ)
2.1 ไม่ต้องนับสายเส้นศุนย์ของระบบ 3 เฟส ที่ออกแบบให้ใช้ไฟสมดุลย์ทั้ง 3 เฟส ยกเว้นหมายเหตุ ข้อ 2.2
2.2 ถ้าการใช้ไฟฟ้ามากกว่า 50% มาจากอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดกระแสฮาร์โมนิกในสายเส้นศูนย์ เช่น หลอดฟลูออรสเซนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้นับรวมสายเส้นศูนย์ด้วย
2.3 การนับจำนวนสายไฟฟ้าในท่อที่มีมากกว่า 3 เส้น ให้ใช้ตัวคูณเพื่อลดขนาดของกระแสในสายไฟฟ้า ดังนี้
 
จำนวนสาย (เส้น)
ตัวคูณ
4 - 6
0.82
7 - 9
0.72
10 -20
0.56
21 - 30
0.48
31 - 40
0.44
เกิน 40
0.38
 

2.4 การเดินสายในท่อหรือรางเคเบิ้ลควรเว้นที่ว่างไว้โดยพื้นที่หน้าตัดรวมของสายไฟทุกเส้นรวมทั้งฉนวนและเปลือกไม่ควรเกิน 40 % ของพื้นที่หน้าตัดภายในของท่อหรือรางเคเบิ้ลนั้น

 
การเดินสายไฟฟ้า
1.เลือก ว่าจ้างช่างเดินสายไฟฟ้าที่มีประสบการณ์สูงหรือช่างที่เคยผ่านการอบรมจากการ ไฟฟ้านครหลวงแล้ว (ขอทราบรายชื่อได้ที่แผนกบริการของการไฟฟ้านครหลวงทุกเขต)
2.หลีก เลี่ยงการมีจุดต่อสายไฟฟ้าเกินความจำเป็น หากมีการต่อสายก็ต้องเลือกใช้อุปกรณ์การต่อสายที่ถูกต้องมั่นคงแข็งแรง (ห้ามใช้ตะกั่วบัดกรีในการต่อสายโดยลำพังแต่อย่างเดียว เนื่องจากตะกั่วจะทนอุณหภูมิได้ต่ำและหลอมละลายทำให้จุดต่อหลวม ยกเว้นจะต่อสายไฟให้มั่งคงแข็งแรงทางกลก่อนแล้วจึงใช้ตะกั่วบัดกรีทับเป็น การ เสริมก็ได้)
3.สายไฟฟ้าที่ทะลุผ่านผนังหรือออกมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องมีฉนวนรองรับเพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟฟ้าถูกบาดจนชำรุด
4.สาย ไฟฉนวนสีดำ ใช้สำหรับสายเส้นที่มีไฟ ส่วนสีเทาอ่อนหรือสีขาว ใช้สำหรับสายเส้นที่ไม่มีไฟ (สายศูนย์) สำหรับสีเขียวหรือเขียวสลับเหลืองใช้สำหรับสายดิน (รายละเอียดวิธีการเดินสายที่ถูกต้องให้ดูในเรื่องสายดิน)
5.อุปกรณ์ ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน เช่น ฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ รวมทั้งสวิตซ์ปิด-เปิด ให้ต่อเฉพาะกับสายไฟที่มีฉนวนสีดำ (เส้นที่มีไฟ) เท่านั้น และห้ามต่อฟิวส์ในสายเส้นที่ไม่มีไฟ (เส้นศูนย์) ในกรณีที่ใช้เบรกเกอร์ หรือสวิตซ์ในเส้นศูนย์ด้วยต้องเป็นชนิดที่ตัดไฟหรือปลดสายไฟทุกเส้นออกพร้อม กัน (2 ขั้วพร้อมกัน)
6.กรณี ที่จะมีการต่อเติมเดินสายไฟบางส่วนแล้วพบว่า การเดินสายไฟเดิมทั้งบ้านใช้สีของสายไฟสลับกันกับมาตรฐานเหมือนกันทั้งหมด (เส้นที่มีไฟใช้สีขาว เส้นศูนย์ใช้สีดำ) หากไม่สามารถแก้ไขใหม่ได้ขอแนะนำให้ใช้สีของสายไฟระบบเดียวกันทั้งบ้าน แต่ต้องมีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตซ์หรือ ตู้เมนสวิตซ์สำหรับช่างไฟฟ้าและเจ้าของบ้านทราบทุกครั้งที่มีการตรวจสอบด้วย
7.กรณี ของสายดิน ถ้าใช้สายดินเป็นเส้นเดียวต้องมีฉนวนเป็นสีเขียวและถ้าสายวงจรเดินในท่อโลหะ ต้องเดินสายดินในท่อเดียวกับสายวงจรด้วยห้ามเดินนอกท่อ โลหะ
8. สายไฟสายเดี่ยวที่เป็นฉนวนชั้นเดียวเช่นสาย THW. ไม่อนุญาตให้เดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสาย
9. สายเมนที่มีขนาดต่ำกว่า 50 ตร.มม. ไม่ควรนำมาควบสาย
 
การตรวจสอบสายไฟฟ้า
 
1.ตรวจ สอบการเดินสายไฟว่าใช้สีถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ (ใช้ไขควงลองไฟ) หากไม่ถูกต้องเพียงบางจุดให้แก้ไขสลับสายใหม่ หากไม่ถูกต้องตลอดทั้งอาคารเหมือนกันหมดให้มีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ ที่แผงสวิตซ์หรือตู้เมนสวิตซ์ด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดภายหลัง
2.ตรวจสอบจุดต่อสาย การเข้าสายต้องขันให้แน่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3.สังเกต อุณหภูมิของสายโดยใช้การสัมผัสที่ผิวฉนวนของสาย ถ้ารู้สึกอุ่นหรือร้อนแสดงว่ามีสิ่งผิดปกติ อาจเนื่องจากใช้ไฟเกินขนาดของสาย หรือมีจุดต่อสายต่าง ๆ ไม่แน่น เช่น บริเวณปลั๊กไฟ เต้ารับ สวิตซ์ เป็นต้น
4.สังเกต สีของเปลือกสาย ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาว เปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือมีฝุ่นจับมาก แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติอาจมีการใช้ไฟเกินขนาดสายหรือมีการต่อสายไม่ แน่น เป็นต้น
5.ฉนวนของสายไฟฟ้าต้องไม่มีการแตกกรอบ ไม่มีรอยไหม้ ชำรุด ถ้าพบควรหาสาเหตุแล้วแก้ไขสาเหตุ พร้อมเปลี่ยนสายใหม่
6.หมั่นตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย โดยให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจสภาพไว้ทุกครั้งด้วย
7.กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าขนาดสายไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนใหม่
8.ตรวจสอบสายไฟบริเวณที่ทะลุผ่านฝ้าเพดานหรือผนัง อาจมีรอยหนูแทะเปลือกของสาย ทำให้เกิดลัดวงจร และเกิดไฟไหม้ได้

พุท
2013-08-30 09:05:05
ที่บ้านใช้เซฟทีคัททั้งหลัง อยากเรียนถามเรื่องสายเมนจากเสำไฟฟ้าเข้ามาในบ้าน บ้านผมผู้รับเหมาเดินร้อยสายในท่อสีเหลือง เป็นสาย
ชนิด THW 6 sqmm อ่านในมารตฐานพบว่าเดินใต้ดินต้องใช้สาย NYY เท่านั้นใช่ไหมครับ จะใช้ THW ได้ไหม กลัวแช่น้ำ
ฉนวนจะเปื่อย

ขอบคุณครับ

กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ