JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
เมนู หน้าแรก สินค้า ถังดับเพลิงและอุปกรณ์ อุปกรณ์จราจร อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ประสิทธิภาพ ความรู้ทั่วไป ติดต่อเรา
ความรู้ทั่วไป
ประสิทธิภาพ
hotline
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2012-03-02
จำนวนสมาชิก : 6 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-07
จำนวนครั้งที่ชม : 1,300,261 ครั้ง
Online : 7 คน
จำนวนสินค้า : 68 รายการ

สวิตซ์ปิด–เปิด

2012-03-08 17:23:59 ใน ความรู้ทั่วไป » 0 72672 สวิตซ์ปิด–เปิด ในที่นี้หมายถึง สวิตซ์สำหรับปิด–เปิดหลอดไฟหรือโคมไฟสำหรับแสงสว่างหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิด อื่น ๆ ที่มีการติดตั้งสวิตซ์เอง มีข้อแนะนำดังนี้
  1. เลือกใช้แต่สินค้าที่มีมาตรฐาน มอก. หรือ มาตรฐานสากลอื่น ๆ ที่มีการรับรอง เช่น UL, VDE, KEMA, DIN เป็นต้น
  2. แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่กำหนดของสวิตซ์ต้องไม่ต่ำกว่าค่าที่ใช้งานจริง
  3. การเข้าสาย / ต่อสายต้องแน่น และมั่นคงแข็งแรง
  4. สปริงต้องแข็งแรง ตัดต่อวงจรได้ฉับไว
  5. ฝาครอบไม่ร้าวหรือแตกง่าย
  6. ถ้าใช้งานภายนอกต้องทนแดด ทนฝนได้ด้วย
  7. ถ้าสัมผัสที่สวิตซ์แล้วรู้สึกอุ่นหรือร้อน แสดงว่ามีการต่อสายไม่แน่น หรือสวิตซ์เสื่อมคุณภาพ
  8. หลีกเลี่ยงการติดตั้งสวิตซ์ในที่ชื่นแฉะ และห้ามสัมผัส หรือใช้สวิตซ์ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น
  9. ติดตั้งสวิตซ์ตัดวงจรเฉพาะกับสายเส้นที่มีไฟ (ฉนวนสีดำ) เท่านั้น ถ้าตัดเฉพาะสายเส้นที่ไม่มีไฟต้องแก้ไขใหม่
 
เต้าเสียบ และเต้ารับ
หลักในการเลือกซื้อเต้าเสียบ และเต้ารับ
        เต้าเสียบและเต้ารับที่ดีและปลอดภัย ควรมีลักษณะดังนี้
  - มีการป้องกันนิ้วมือไม่ให้สัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก เช่น การทำให้เต้ารับเป็นหลุมลึกหรือการหุ้มฉนวนที่โคนขาปลั๊ก หรือทำเต้าเสียบ (ปลั๊ก)ให้มีขนาดใหญ ่เมื่อกุมจับเต้าเสียบแล้วไม่มีโอกาสสัมผัสขาปลั๊กส่วนที่มีไฟ
  - มีการป้องกันเด็กใช้นิ้วหรือวัสดุแหย่รูเต้ารับ เช่น มีฝาหรือบานพับเปิด–ปิดรูของเต้ารับ ซึ่งบานพับจะเปิดเฉพาะตอนใช้ปลั๊กเสียบเท่านั้น
  - มีมาตรฐานสากลรับรอง และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานนั้น ๆ เช่น UL, VDE, DIN, KEMA เป็นต้น
  - ขนาดของกระแสและแรงดันไฟฟ้าสอดคล้องกับการใช้งานจริง เช่น ระบบไฟ 220 โวลต์ ห้ามนำเต้าเสียบ–เต้ารับสำหรับระบบไฟไม่เกิน 125 โวลต์ มาใช้งาน
  - สียบแล้วแน่นคงทน ไม่หลวมง่าย หรือเกิดความร้อนขณะใช้งาน เช่น ทดลองเสียบปลั๊กแล้วดึงออก 5 – 10 ครั้ง ถ้ายังคงฝืดและแน่นแสดงว่าใช้งานได้
เต้าเสียบ – เต้ารับ ที่ใช้กับระบบสายดิน
 
        เต้าเสียบ ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกนอกเป็นโลหะ (เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภท 1) ต้องใช้เต้าเสียบชนิดที่มีขั้วสายดินและเต้ารับก็ต้องเป็นนิดที่มีขั้วสาย ดินและมีการต่อ ลงดินเข้ากับระบบสายดินด้วย (ใช้มาตรฐานเดียวกัน)
เต้ารับแบบมีสายดินที่ใช้สำหรับระบบไฟ 220 v นั้นเป็นรูปแบบใด
 
      เต้า รับชนิดมีสายดิน สำหรับระบบไฟ 220 โวลต์ ซึ่งใช้กันมากในยุโรปนั้นมีลักษณะเป็นหลุมลึกขั้วสายดินจะเป็นเขี้ยว 2 เขี้ยว อยู่ด้านข้างของตัวเต้ารับ เต้ารับแบบนี้แม้จะมีสายดินแต่ก็มีเพียง 2 รูเท่านั้น (เต้าเสียบก็มีเพียง 2 ขา) ดังนั้นผู้ที่ไม่ทราบจึงคิดว่าเป็นชนิดที่ไม่มีสายดินและเข้าใจผิดว่า เต้าเสียบ – เต้ารับที่มีสายดินต้องมี 3 ขา และ 3 รูเท่านั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้ปลั๊ก (เต้าเสียบ) ที่มีสายดิน จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีฉนวนหนาเป็น 2 เท่าของปกติที่มักเรียกว่าฉนวน 2 ชั้น ซึ่งต้องมีเครื่องหมาย  ประทับบริเวณฉลาก หรือหน้าปัทม์ของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 50 โวลต์ ก็ไม่ต้องใช้ปลั๊กแบบมีสายดิน บางครั้งอาจมีสัญลักษณ์  ประทับบนฉลากของเครื่อง วิธีทดสอบง่าย ๆ ว่าเป็นเครื่องใช้ประเภท 2 โดยไม่ต้องเชื่อสัญลักษณ์ก็คือใช้ไขควงลองไฟกับส่วนที่เป็นโลหะ หากมีไฟรั่วไม่ว่ากรณีใดถือว่าต้องมีสายดิน
 
เต้ารับแบบเป็นหลุม (แบบเยอรมันหรือแบบยุโรป) มีข้อดีต่อไปนี้
 

 - มีความปลอดภัยสูง การทำเป็นหลุมสามารถป้องกันนิ้วมือสัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในประเทศไทย
 - เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินในท้องตลาดส่วนใหญ่ใช้ปลั๊กแบบเยอรมันอยู่แล้ว ดังนั้นการใช้เต้ารับแบบเป็นหลุมจะทำให้มีการต่อลงดินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยน หัวปลั๊กอีก
 - ปลั๊ก 2 ขา แบบเยอรมันไม่เป็นปัญหากับเต้ารับ 2 รู (ถ้าเป็นปลั๊ก 3 ขา จะใช้กับเต้ารับ 2 รูไม่ได้)
 - มั่นคงแข็งแรงและไม่หลวมง่าย เนื่องจากปลั๊กและเต้ารับเป็นมาตรฐานเดียวกัน
 - เป็นเต้ารับที่ใช้กันแพร่หลายในยุโรปที่ใช้ไฟ 220 โวลต์
 - ป้องกันการนำปลั๊กขาแบนที่ไม่ปลอดภัยมาเสียบใช้งาน

   
อันตรายของการใช้ปลั๊กขาแบนคู่ขนาน (2 หรือ 3 ขา)
 
  - ปลั๊กขาแบนนั้นมาตรฐานสากลทั่วโลกกำหนดให้ใช้กับระบบไฟไม่เกิน 125 โวลต์ จึงไม่เหมาะสมกับประเทศไทยที่ใช้ระบบไฟ 220 โวลต์ และใช้แรงดันทดสอบที่สูงกว่า
  - ปลั๊กขาแบนมีฐานจับที่เล็ก มักเกิดอุบัติเหตุนิ้วมือสัมผัสขาปลั๊ก ซึ่งเป็นอุบัติเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
  - เต้าเสียบและเต้ารับไม่มีการป้องกันนิ้วมือสัมผัส ขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก ซึ่งอันตรายในขณะสัมผัสไฟ 220 โวลต์ จะรุนแรงกว่าสัมผัสแรงดัน 110 โวลต์ เกือบเท่าตัว
  - เต้ารับสำหรับปลั๊กขาแบนเมื่อนำเต้ารับมาใช้กับเต้าเสียบ 220 โวลต์ ที่เป็นขากลม จำเป็นต้องดัดแปลงเต้ารับให้เสียบขากลมได้ด้วย ทำให้รูของเต้ารับกว้างขึ้น เนื่องจากระยะห่างของขาทั้ง 2 ชนิดไม่เท่ากัน มักจะมีปัญหาไม่ปลอดภัย เสียบไม่แน่นและอาจเกิดอัคคีภัยได้ง่าย
   
เต้ารับแบบมีสายดินที่ไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในประเทศไทย
 
ก. แบบอเมริกัน (ไม่แนะนำให้ใช้)
  1. มาตรฐาน สากลทั่วโลกกำหนดให้ใช้กับแรงดันไม่เกิน 125 โวลต์ เท่านั้น จึงไม่ปลอดภัยกับประเทศไทยที่ใช้ไฟระบบ 220 โวลต์ รวมทั้งไม่ปลอดภัยกับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยด้วยอาจเข้า ใจผิดได้ง่ายว่าเป็นแรงดัน 110 โวลต์
  2. ไม่มีการป้องกันอุบัติเหตุนิ้วมือสัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊ก
  3. เครื่อง ใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินในท้องตลาดไม่นิยมใช้เต้าเสียบ 3 ขาแบบนี้ นอกจากจะผิดมาตรฐานกับระบบไฟฟ้า 220 โวลต์แล้ว ยังเสียบเข้ากับเต้ารับ 2 รู ส่วนใหญ่ไม่ได้



 
ข. แบบไม่มีมาตรฐาน (ไม่แนะนำให้ใช้)
 
 
  1. ไม่มีมาตรฐานสากล หรือมาตรฐานประเทศใดประเทศหนึ่งรับรอง
  2. แม้ ว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินส่วนใหญ่ที่ใช้ปลั๊ก 2 ขากลมแบบเยอรมันที่มีขั้วสายดินเป็นแถบโลหะด้านข้าง สามารถเสียบลงเต้ารับแบบนี้ได ้ก็จะไม่เกิดประโยชน์เนื่องจากเครื่องใช้นั้นไม่มีการต่อลงดิน
  3. ถ้า จะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายดินจะต้องเปลี่ยนปลั๊กแบบเยอรมันที่เครื่อง ใช้ฯให้เป็นปลั๊กขาแบนแบบอเมริกัน (3 ขาแบนคู่ขนาน) ซึ่งเป็นปลั๊กสำหรับแรงดันขนาดไม่เกิน 125 โวลต์ เท่านั้น(ไม่ปลอดภัย)
  4. ไม่สามารถออกแบบให้มีการป้องกันอุบัติเหตุนิ้วมือสัมผัสขาปลั๊กในขณะเสียบหรือถอดปลั๊กได้
  5. เนื่องจากระยะห่างของปลั๊กขากลมและแบนไม่เท่ากัน อาจมีปัญหาเสียบแล้วไม่แน่น ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาอัคคีภัยได้
  6. ขา สายดินของปลั๊กแบบอเมริกันนั้นยาวกว่าอีก 2 ขา จึงสามารถแหย่เข้าไปในรูสายเส้นไฟของเต้ารับแบบนี้ได้ จึงมักเกิดอุบัติเหตุลัดวงจรทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ คอมพิวเตอร์ชำรุดทั้งเครือข่าย เสียหายนับแสน ๆ บาท นอกจากนี้ยังอาจเกิดไฟฟ้าดูดกับผู้ที่พยายามเสียบปลั๊กในขณะที่ถือหรือ สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ด้วย
ถ้าใช้เต้ารับแบบเยอรมัน แต่เครื่องใช้ฯ เป็นปลั๊กขาแบนจะทำอย่างไร  
       เนื่อง จากปลั๊กขาแบนที่อยู่ในท้องตลาดจะเป็นชนิดไม่มีสายดิน (2 ขา) เท่านั้น จึงสามารถใช้หัวเปลี่ยน (Adapter) ในท้องตลาดที่มีราคาถูกได้โดยสะดวก “ แต่ต้องเลือก Adapter ที่เสียบแล้วแน่นติดกับปลั๊กขาแบบนั้น “ หากไม่สามารถหา Adapter ที่มีคุณภาพดี ให้เปลี่ยนหัวปลั๊กเป็นปลั๊กขากลมแบบเยอรมัน
ถ้าติดตั้งเต้ารับ 3 รู ชนิดไม่มีมาตรฐานไปแล้ว (ชนิดที่ไม่แนะนำให้ใช้) แต่เครื่องใช้ฯ เป็นปลั๊กแบบเยอรมันควรปฏิบัติดังนี้
- เปลี่ยนเต้ารับเป็นแบบเยอรมัน (เป็นหลุม) หรือ
- เปลี่ยนปลั๊กที่เครื่องใช้ฯ เป็นชนิดขาแบนคู่ขนาน (3 ขา) ซึ่งอาจไม่ปลอดภัย หรือ
- ทำตลับต่อสายโดยใช้สายไฟชนิด 3 สาย พร้อมด้วยปลั๊กเป็นขาแบน 3 ขา และเต้ารับเป็นแบบเยอรมันคู่ เมื่อจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ให้มาต่อที่เต้ารับของตลับต่อสายใหมนี้่อีก
 
 
มาตรฐานสีของฉนวนสายไฟฟ้า
มาตรฐาน
สายเส้นไฟ
สายศูนย์ (N)
สายดิน (G)
มอก.11-2531
ดำ
เทาอ่อน
เขียวสลับเหลือง
อเมริกัน
ดำ (แดง)
ขาว (เทาอ่อน)
เขียว หรือเขียวสลับเหลือง
อังกฤษ
แดง
น้ำตาล
ดำ
ฟ้า
เขียวสลับเหลือง
เขียวสลับเหลือง
ฝรั่งเศส
ดำ
ฟ้า
เขียวสลับเหลือง
เยอรมัน
ดำ หรือน้ำตาล
ฟ้า
เขียวสลับเหลือง
IEC
น้ำตาล
ฟ้า
เขียวสลับเหลือง
 
ข้อแนะนำหากจะต่อปลั๊กที่เครื่องใช้ฯ ประเภท 1 ให้มีสายดินด้วยตัวเอง  
ก.ก่อน อื่นจะต้องตรวจสอบก่อนว่า ตัวถังโลหะต้องไม่ต่อกับสายศูนย์ของเครื่องใช้ฯ มิฉะนั้นจะทำไม่ได้ ยกเว้นว่าจะปลดให้แยกจากกันและมีระดับฉนวนที่ทดสอบแล้วว่าเพียงพอ
ข.สำหรับ เครื่องใช้ฯ ที่มีสายดินมาจากผู้ผลิตแล้วการเปลี่ยนเฉพาะรูปแบบมาตรฐานของปลั๊กสามารถทำ ได้เอง แต่ต้องต่อสายให้ถูกต้องตามมาตรฐานของปลั๊กและสีของสายไฟนั้น ๆ
ค.เครื่อง ใช้ฯ ที่ไม่ได้ต่อสายดินมาจากผู้ผลิต ไม่ปลอดภัยที่จะทำเอง ควรปรึกษาผู้ผลิต หรือช่างที่ชำนาญที่มีเครื่องมือทดสอบเป็นการเฉพาะ เช่น ทดสอบระดับฉนวนของสายเส้นไฟและเส้นศูนย์เมื่อเทียบกับตัวถังโลหะ (เส้นศูนย์ห้ามต่อกับสายดินที่เครื่องใช้ฯ) ทดสอบความต่อเนื่องและคงทนของการต่อสายดินที่เครื่องใช้ฯ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจรไหลในสายดิน เป็นต้น
 
ข้อแนะนำการติดตั้งและใช้งานเต้าเสียบและเต้ารับ(เพิ่มเติม)
 
 
- ตำแหน่งของการติดตั้งเต้ารับควรอยู่สูงให้พ้นมือเด็กหรือระดับน้ำที่อาจจะท่วมถึง
- เวลาถอดปลั๊กให้ใช้มือจับที่ตัวปลั๊ก อย่าดึงที่สายไฟ และอย่าใช้นิ้วแตะถูกขาปลั๊ก
- ให้หลีกเลี่ยงและระมัดระวังการใช้เต้ารับที่เสียบปลั๊กได้หลายตัว เพราะอาจทำให้มีการใช้ไฟฟ้าเกินขนาดของเต้ารับและสายไฟฟ้าทำให้เกิดไฟไหม้ ได้
- ก่อนซื้อเต้ารับควรตรวจสอบโดยใช้ปลั๊ก(ตัวผู้)ขากลมเสียบเข้าและดึงออกหลาย ๆครั้ง เต้ารับที่มีคุณภาพดีจะแน่นและดึงออกยาก
- หมั่นตรวจสอบจุดต่อการเข้าสายให้แน่นอยู่เสมอ
- เต้ารับที่ใช้งานภายนอกอาคารควรทนแดด ป้องกันน้ำฝนได้ และหากเป็นสายไฟ / เต้ารับที่ลากไปใช้งานไกล ๆ ต้องต่อผ่านวงจรของเครื่องตัดไฟรั่วด้วย
- ตลับต่อสายที่ประกอบด้วยสายพร้อมปลั๊กและมีเต้ารับหลายตัวพร้อมทั้งมี สัญลักษณ์ มอก. เลขที่ 11- 2531 นั้นมิได้หมายความว่าเต้ารับนั้นได้มาตรฐาน เนื่องจากมาตรฐาน มอก. 11 เป็นมาตรฐานเฉพาะสายไฟฟ้าเท่านั้น มิใช่มาตรฐานของเต้ารับแต่อย่างใด สำหรับขนาดของสายไฟที่ใช้นี้ต้องไม่ต่ำกว่า 1.0 ตร.มม.
- ไม่ควรซื้อตลับสายไฟที่ใช้เต้ารับ 3 รู แต่ใช้สายไฟ 2 สายและเต้าเสียบที่ไม่มีสายดินเพราะไม่มีประโยชน์ใด ๆ ด้านความปลอดภัยเนื่องจากไม่มีการต่อลงดิน
กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ