JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
เมนู หน้าแรก สินค้า ถังดับเพลิงและอุปกรณ์ อุปกรณ์จราจร อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ประสิทธิภาพ ความรู้ทั่วไป ติดต่อเรา
ความรู้ทั่วไป
ประสิทธิภาพ
hotline
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2012-03-02
จำนวนสมาชิก : 6 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-20
จำนวนครั้งที่ชม : 1,311,446 ครั้ง
Online : 8 คน
จำนวนสินค้า : 68 รายการ

หลักดิน

2012-03-09 13:30:05 ใน ความรู้ทั่วไป » 0 18590  
หลักดิน ต้องทำด้วยวัสดุที่ทนต่อการผุกร่อน และไม่เป็นสนิม เช่น แท่งทองแดง แท่งเหล็กชุบหรือหุ้มด้วยทองแดงโดยต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. (5/8 นิ้ว) และยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร

ถ้า เป็นเหล็กหุ้มด้วยทองแดง ต้องมีความหนาของทองแดงไม่ต่ำกว่า 0.25 มม. และต้องหุ้มอย่างแนบสนิทไม่หลุดออกจากกัน และไม่มีปลายเหล็กโผล่ออกมาสัมผัสกับเนื้อดิน เพื่อไม่ให้เหล็กเป็นสนิม และต้องไม่มีการเจาะรูเพื่อยึดทองแดงกับเหล็กให้ติดกัน มิฉะนั้นแท่งเหล็กจะเป็นสนิมตามรูที่เจาะนั้น

ห้ามใช้อะลูมิเนียมหรือโลหะผสมของอะลูมิเนียมเป็นหลักดิน
หลักดินที่ดีควรผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน UL- 467
การ ต่อสายดินเข้ากับหลักดินนั้น อุปกรณ์ต่อหลักดิน และสายต่อหลักดิน ควรใช้วัสดุชนิดเดียวกันเพื่อไม่ให้มีปัญหาการกัดกร่อน เช่นหลักดินทองแดงต่อกับสายต่อหลักดินทำด้วยทองแดง ควรใช้วิธีเชื่อมต่อด้วยผงทองแดงโดยเผาให้หลอมละลาย (ต้องเทผงชนวนให้อยู่ผิวบนและจุดด้วยปืนจุดชนวนเท่านั้น) ถ้าใช้วิธียึดด้วยแรงกลก็ต้องใช้หัวต่อที่มีส่วนผสมของทองแดง และ ต้องมีความมั่นคงแข็งแรงและทนต่อการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี (มีการทดสอบตามมาตรฐาน)

 
          หลักดินที่ดีเมื่อตอกลงดินแล้วต้องมีความต้านทานการต่อลงดินไม่เกิน 5 โอห์ม ตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวง
         เนื้อ ดินบริเวณที่ตอกหลักดินที่ดีควรเป็นดินแท้ ๆ และต้องไม่ถูกกั้นหรือล้อมรอบด้วยหิน, กรวด, ทราย หรือแผ่นคอนกรีต เพราะเป็นอุปสรรคต่อการแพร่กระจายของประจุไฟฟ้าลงสู่ดิน ทำให้ความต้านทานการต่อลงดินมีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐาน (ในกรณีที่ใช้หลักดินตามมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวงและสภาพพื้นที่และเนื้อดิน ไม่มีอุปสรรคในดินแล้ว ความต้านทานการต่อลงดินในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงจะไม่เกิน 5 โอห์มเสมอ
          ห้ามใช้ตะปูคอนกรีตตอกเข้าไปในผนังหรือพื้นคอนกรีต เพราะตะปูคอนกรีตไม่สามารถทำหน้าที่แทนหลักดิน เพื่อการต่อลงดินได้
          ตำแหน่งของหลักดินควรอยู่ใกล้จากตู้เมนสวิตซ์
          ห้าม แช่หลักดินในน้ำเพราะเมื่อมีไฟรั่วจะแพร่กระจายไปกับน้ำและเกิดอันตรายกับ ผู้ที่อยู่ในน้ำ ถ้าจำเป็นต้องตอกหลักดินในน้ำต้องตอกให้มิดดิน
           ขนาดของสายต่อหลักดินจะขึ้นอยู่กับขนาดสายเมน และต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม. โดยควรมีท่อหรือฉนวนหุ้มอยู่ด้วย
            การ ตอกหลักดินควรตอกให้ลึกที่สุดถ้าเป็นหัวต่อหลักดินชนิดยึดด้วยแรงกลคควรให้ หัวต่อโผล่พ้นดิน หรือระดับน้ำท่วมเพื่อหลีกเลี่ยงการผุกร่อน หัวต่อชนิดหลอมละลายสามารถตอกให้จมดินได ้แต่ต้องใช้สายต่อเส้นใหญ่ และหุ้มฉนวนมิดชิดเพื่อไม่ให้สายผุกร่อน
กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ